ไขข้อข้องใจ : พวงหรีดกับพวงมาลาต่างกันอย่างไร?

ไขข้อข้องใจ : พวงหรีดกับพวงมาลาต่างกันอย่างไร? />

06/03/2021

ทั่วไป

ไขข้อข้องใจ : พวงหรีดกับพวงมาลาต่างกันอย่างไร?

หลายครั้งที่เราก็ไม่สามารถจะแยกออกได้ว่าดอกไม้ประดับรูปทรงต่างๆ ที่พบเห็นกันได้ในปัจจุบันนี้นั้นสิ่งไหนคือพวงหรีดและสิ่งไหนคือพวงมาลากันแน่ เพราะหากมองจากภายนอกแล้วก็ดูเหมือนว่าทั้งพวงหรีดและพวงมาลาต่างก็มักจะใช้ดอกไม้ในการนำมาประดับเพื่อไว้อาลัยแทบทั้งสิ้น แต่รู้หรือไม่ว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่อาจจะยังไม่สามารถแยกความแตกต่างในด้านการใช้งานของทั้งสองชนิดได้ว่ามักจะใช้ในโอกาสที่ต่างกันอย่างไร เพื่อที่ทุกคนจะได้เลือกใช้งานพวงหรีดและพวงมาลาได้เหมาะสมและถูกต้องตามโอกาสได้

906wg

ความแตกต่างของพวงหรีดและพวงมาลา

พวงหรีดและพวงมาลาต่างก็เป็นสิ่งที่ใช้เพื่อแสดงถึงความรักและการให้เกียรติต่อผู้ที่จากไป โดยรูปแบบที่จะมีความคล้ายคลึงกันก็คือมักจะนำเอาดอกไม้ประเภทต่าง ๆ มาจัดแต่งให้มีความสวยงามขึ้นอยู่กับความชื่นชอบและการออกแบบ แต่ถึงแม้พวงหรีดและพวงมาลาจะมีการใช้ดอกไม้มาประดับตกแต่งไม่ต่างกัน แต่การจะบอกว่าพวงหรีดและพวงมาลาเหมือนกันก็ดูจะไม่ได้เสียทีเดียว เนื่องจากสองสิ่งนี้ถูกใช้ในวาระโอกาสที่ค่อนข้างแตกต่างกัน โดยเราจะมาทำความรู้จักถึงความหมายของทั้งสองคำนี้กันก่อน

พวงหรีด

สำหรับพวงหรีดนั้นจะเป็นสิ่งที่ทุกคนจะพบเห็นได้บ่อยและค่อนข้างจะมีความเกี่ยวโยงกับบุคคลธรรมดาทั่วไปมากกว่าพวงมาลา เนื่องจากพวงหรีดจะเป็นสิ่งที่ใช้เพื่ออำลาอาลัยต่อบุคคลที่จากไป โดยส่วนใหญ่จะนิยมใช้ดอกไม้มงคลประเภทต่าง ๆ นำมาจัดแต่งให้สวยงามโดยนิยมทำเป็นพวงหรีดวงกลม เช่น ดอกเบญจมาศ ดอกลิลลี่ ดอกคาร์เนชั่น เป็นต้น แต่ในปัจจุบันเราก็จะสามารถพบเห็นพวงหรีดในรูปแบบที่แตกต่างออกไปได้อีกมากมายไม่ว่าจะเป็นพวงหรีดพัดลมหรือพวงหรีดผ้านั่นเอง

ทำเองได้ไม่ยาก ดอกไม้เพียงเท่านี้ก็ปักพวงหรีดสวยๆได้แล้ว

พวงหรีดในวัด

พวงมาลา

พวงมาลาคือการนำเอาดอกไม้มงคลหลากหลายชนิดมาประดับและตกแต่งและขึ้นโครงซึ่งมักจะเป็นรูปทรงในลักษณะต่าง ๆ เช่น รูปทรงรี รูปทรงกลม เป็นต้น โดยจุดประสงค์ของการมอบพวงมาลาก็ไม่ได้ต่างจากการมอบพวงหรีดสักเท่าไหร่เนื่องจากพวงมาลามักจะถูกใช้เพื่อแสดงความอาลัยต่อผู้เสียชีวิตนั่นเอง เพียงแต่การมอบพวงมาลานั้นจะทำเพื่อถวายและใช้เพื่อเป็นการสักการะพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนใช้ในโอกาสเมื่อมีการพระราชทานพวงมาลาในงานศพเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้วายชนม์ที

ทำคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน

และก็มีบ้างในบางครั้งที่พวงมาลามักจะถูกนำมาใช้วางประดับบริเวณอนุสาวรีย์หรือพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์เพื่อถวายเกียรติและแสดงความเคารพอย่างที่ทุกคนเคยเห็นกันมาบ้างแล้วเมื่อครั้งที่มีพิธีวางพวงมาลาและถวายบังคมพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9

และนอกจากนั้นพวงมาลาจะมีความซับซ้อนในการใช้งานมากกว่าพวงหรีดในงานของบุคคลทั่วไป เนื่องจากจะต้องจัดเรียงให้ถูกต้องตามจารีตประเพณี ยกตัวอย่างเช่น การใช้พวงมาลาในงานของพระมหากษัตริย์ก็มักจะต้องเลือกใช้สีตามวันประสูติทั้งยังต้องประกอบไปด้วยพระปรมาภิไธยประจำพระองค์ด้วย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะจัดวางขาตั้งพวงมาลาของประธานไว้ตรงกลางและขาตั้งพวงมาลาสำหรับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางบริเวณด้านซ้ายและขวาของพระบรมฉายาลักษณ์

ดังนั้นพวงหรีดและพวงมาลาจึงมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ว่ามองจากภายนอกจะมีความคล้ายคลึงกันบ้างก็ตาม ดังนั้นนี่จึงเป็นเหตุผลที่บุคคลทั่วไปจะมีความใกล้ชิดกับพวงหรีดมากกว่าเนื่องจากเป็นสิ่งของที่สามารถใช้และซื้อหาได้โดยทั่วไปแตกต่างจากพวงมาลาที่มีธรรมเนียมบังคับและใช้ได้เฉพาะบุคคลเท่านั้น

งานศพไทยและทั่วโลก

พวงมาลากับพวงมาลัยใช้ในโอกาสเดียวกันได้หรือไม่?

นอกจากคำว่าพวงมาลาก็ยังมีอีกคำหนึ่งที่เราอยากจะแนะนำให้รู้จักกันนั่นก็คือ ‘พวงมาลัย’ เพราะอาจจะมีหลายคนที่สับสนคำนี้กับพวงมาลาอยู่บ้าง เพราะถึงแม้พวงมาลัยจะมีการนำดอกไม้มาร้อยเรียงไม่ต่างกันแต่ด้วยรูปลักษณ์และการนำเอามาใช้ประโยชน์กลับไม่ได้เหมือนกันเลยนั่นเอง

ซึ่งพวงมาลัยจะเป็นการนำเอาดอกไม้ต่าง ๆ มาร้อยเป็นลักษณะของมาลัยอาจจะมีอุบะหรือไม่มีก็ได้ โดยนิยมใช้ ดอกมะลิ ดอกพุด ดอกรัก ดอกดาวเรือง ตลอดจนดอกไม้ตามท้องถิ่นที่หาได้ในขณะนั้นเพื่อนำมาร้อยเป็นพวงมาลัยเพื่อใช้ในโอกาสต่าง ๆ แต่จะไม่ได้มีการนำเอาไปใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการไว้อาลัยกับผู้ตายแต่จะใช้เพื่อบูชาพระพุทธรูปหรือประกอบพิธีทางศาสนาตลอดจนงานบุญต่าง ๆ ทั้งยังนิยมนำมาใช้ในการมงคลมากกว่าจะใช้ในงานศพนั่นเอง

โดยพวงมาลัยมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานตั้งแต่เมื่อครั้งสมัยสมัยสุโขทัยซึ่งมีการร้อยพวงมาลัยในงานพิธีต่าง ๆ จนเกิดเป็นประเพณีที่มีการประชันฝีมือของเหล่าสนมนางในจนทำให้เกิดรุปแบบของการร้อยพวงมาลัยที่มีความวิจิตรสวยงามสืบต่อมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถทรงโปรดการร้อยพวงมาลัยจึงได้มีการคิดและออกแบบลวดลายของพวงมาลัยที่หลากหลายมากขึ้น ส่งผลให้ผู้คนในปัจจุบันได้รับอิทธิพลและยกย่องให้การร้อยพวงมาลัยในโอกาสต่าง ๆ ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าตามไปด้วย