วัดบึงทองหลาง ศูนย์รวมความศรัทธาสู่ความเจริญรุ่งเรือง

วัดบึงทองหลาง ศูนย์รวมความศรัทธาสู่ความเจริญรุ่งเรือง />

22/06/2023

รีวิว

วัดบึงทองหลางศูนย์รวมความศรัทธา สู่ความเจริญรุ่งเรือง

วัดบึงทองหลาง ถือว่าเป็นวัดที่เปรียบเสมือนเครื่องหมายของความศรัทธา และความยึดมั่นในพุทธศาสนาของคนในสมัยนั้น เนื่องจากเดิมทีวัดแห่งนี้ตั้งอยู่ในถิ่นทุรกันดาร และยากต่อการที่จะมีคนมาทำนุบำรุง หรือใช้ประโยชน์อะไรได้ แต่สุดท้ายวัดแห่งนี้ก็ได้ถูกจัดสร้างและกลายมาเป็นวัดที่มีความเจริญก้าวหน้า และเป็นที่พึ่งพาทางจิตใจให้กับคนรุ่นหลังเรื่อยมา

วัดบึงทองหลาง

ความเป็นมาของวัดบึงทองหลาง

วัดบึงทองหลางจัดเป็นหนึ่งในวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย (เป็นคำเรียกนิกายหรือคณะของพระสงฆ์ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทย) ตั้งอยู่ในแขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เป็นวัดที่มีอดีตเกจิคณาจารย์ผู้ซึ่งได้รับความเคารพนับถือ จากบุคคลทั่วไปหลายท่าน ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าพระธรรมคำสั่งสอบ ซึ่งเกิดขึ้นที่วัดบึงทองหลางแห่งนี้ได้ถูกปลูกฝัง และส่งต่อมารุ่นสู่รุ่น

แต่หากย้อนกลับไปเมื่อสมัยแรกก่อนที่จะมีการสร้างวัดยิ่งใหญ่แห่งนี้ขึ้นเหมือนในสมัยนี้นั้น ก็มีการเล่าสืบต่อกันมาว่าวัดแห่งนี้เป็นวัดที่อยู่ห่างไกลความเจริญ และยังเป็นวัดที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ดังนั้นจึงมีการเกิดน้ำท่วมตลอดทั้งปี ยิ่งทำให้ความลำบากจากเดิมเพิ่มมากเข้าไปอีก ดังนั้นแค่จะใช้ชีวิตประจำวันยังยาก จึงไม่ต้องคิดไปถึงเรื่องที่จะใช้วัดแห่งนี้ในการทำประโยชน์ให้กับศาสนาเลย

แต่แล้วเมื่อมีพระภิกษุธุดงค์อาศัยปฏิบัติธรรม ที่วัดซึ่งห่างไกลนี้ ชาวบ้านรวมตัวกัน และเลือกที่จะมาทำบุญและเข้าใกล้พุทธศาสนามากขึ้น แม้จะมีความลำบากบ้างก็ตาม ดังนั้นวัดแห่งนี้จึงเป็นเสมือนเครื่องหมายของศูนย์รวมศรัทธา และทำกันเช่นนี้เรื่อยมากจนกระทั่งนายนิ่มและนางทองอยู่ ได้มอบที่ดินถวายให้สร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นเมื่อประมาณพุทธศักราช 2419 วัดแห่งนี้ก็กลายเป็นวัดที่ชาวบ้านรักและหวงแหน ทั้งยังช่วยกันดูแลสืบมา

พระพุทธรูปและปูชนียวัตถุที่ควรสักการะ

  1. พระพรศรีสุเวสสุวรรณ
  2. อุโบสถหลังเก่า (จัดสร้างเมื่อพุทธศักราช 2462-2466)
  3. หอระฆัง
  4. อุโบสถทรงไทยประยุกต์รูปเรือสำเภา 
  5. ศาลาคู่เมรุ

การเดินทางไปยังวัดบึงทองหลาง

แผนที่ : https://goo.gl/maps/PE94LEvCuB7m4FELA

สำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการเดินทางไปยังวัดบึงทองหลาง สามารถใช้งานรถโดยสารประจำทางสาย 8 44 145 27 545 เพื่อไปลงที่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 101 จากนั้นใช้บริการมอเตอร์ไซค์เพื่อเข้าไปยังตัววัดอีกทีก็ได้ หรือจะใช้การเดินทางด้วย MRT เพื่อลงยังสถานทีลาดพร้าว (สถานีที่ใกล้กับวัดมากที่สุด) จากนั้นเดินด้วยรถโดยสารสาธารณะต่อไปอีกก็ได้เช่นเดียวกัน