ทำความรู้จักกับ ‘วัดหัวลำโพง’ ชื่อที่ไม่ได้มีดีแค่สถานีรถไฟ

ทำความรู้จักกับ ‘วัดหัวลำโพง’ ชื่อที่ไม่ได้มีดีแค่สถานีรถไฟ />

30/05/2023

รีวิว

ทำความรู้จักกับวัดหัวลำโพง ชื่อที่ไม่ได้มีดีแค่สถานีรถไฟ

หากพูดถึงคำว่าหัวลำโพง แน่นอนว่าภาพแรกที่เด้งเข้ามาในความคิดของหลายคน ก็อาจจะนึกถึงสถานีรถไฟที่ใหญ่ และเป็นศูนย์กลางในการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ภายในประเทศไทย ซึ่งเปิดให้บริการมาเป็นเวลายาวนานอย่าง ‘สถานีรถไฟหัวลำโพง’ แต่ในความเป็นจริงชื่อหัวลำโพงนี้กลับเป็นอีกหนึ่งชื่อสำคัญของวัดไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ยังคงอยู่คู่คนไทยมายาวนาน แม้จะผ่านมาเกือบ 200 ปีแล้วก็ตาม

วัดหัวลำโพง

ย้อนรอยจุดเริ่มต้นของวัดหัวลำโพง

วัดหัวลำโพงจัดว่าอยู่ในวัดประเภท พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เป็นวัดในพระพุทธศาสนาที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เนื่องจากมีการกล่าวว่าวัดแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งอาจจะเป็นวัดเดียวเลยก็ได้ ที่มีการสร้างขึ้นในสมัยนั้น ตั้งอยู่ในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยเดิมทีวัดหัวลำโพงจะเป็นที่รู้จักโดยทั่วกันในชื่อ ‘วัดวัวลำพอง’ ก่อนจะมีการเปลี่ยนชื่อเรียกตามสถานีรถไฟหัวลำโพง (แต่ก็ไม่ได้มีหลักฐานที่ระบุแน่ชัด เป็นเพียงการสันนิษฐานเท่านั้น)

ซึ่งวัดวัวลำพอง หรือวัดหัวลำโพง ถือเป็นวัดราษฎร์หรือก็คือวัดที่สร้างขึ้นโดยประชาชนคนทั่วไป แต่ทั้งนี้ก็ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างวัดที่ชัดเจนมากนัก โดยมีการสันนิษฐานจากผู้เชี่ยวชาญว่า เป็นไปได้สูงที่วัดแห่งนี้จะถูกสร้างขึ้นในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากรูปทรงของอุโบสถหลังเก่าและเจดีย์ดั้งเดิมของวัด ที่เป็นสถาปัตยกรรมดั้งเดิมในยุคนั้น 

วัดหัวลำโพง

ทั้งยังมีการคาดเดาว่าแรกเริ่มเดิมที ผู้คนที่สร้างวัดนี้ขึ้นอาจจะเป็นชาวบ้านของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในช่วงที่เสียกรุง เพราะชาวบ้านบางส่วนอาจจะอพยพลงมาทางใต้ และตั้งถิ่นฐานที่บริเวณวัดหัวลำโพงในปัจจุบันก็เป็นไปได้นั่นเอง 

โดยจุดเริ่มต้นของการสร้างสถานีรถไฟหัวลำโพงก็คือทรงสนใจในเรื่องของการพัฒนาบ้านเมือง และองค์ความรู้แบบชาวตะวันตก โดยประมาณปี 2430 ทรงจ้างผู้เชี่ยวชาญสำรวจเส้นทางรถไฟจากกรุงเทพมหานครถึงเชียงใหม่ โดยมีเส้นทางแยกไปนครราชสีมาที่เมืองสระบุรี แยกจากจังหวัดอุตรดิตถ์ไปตำบลท่าเดื่อชายแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง และจากเชียงใหม่ไปเชียงรายเพื่อเชื่อมโยงสู่ภูมิภาคที่อยู่ห่างไกลและมีความเสี่ยงจากการใกล้ชิดกับดินแดนอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสในสมัยนั้น

จนกระทั่งเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ทรงสร้างทางรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และพระราชทานนามว่า ‘สถานีหัวลำโพง’ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากวัดวัวลำพอง ประมาณ 2 กิโลเมตร โดยสถานีรถไฟนี้ก็ได้ทำหน้าที่เชื่อมโยงผู้คนทั่วประเทศให้ไปมาหาสู่กันได้สะดวก ติดต่อค้าขายสินค้ากันได้คล่องตัว ยิ่งมีการขยายเส้นทางรถไฟออกไปมากขึ้น จนมีการแยกย้ายและปรับเปลี่ยนไปในปัจจุบัน

ในปีพุทธศักราช 2447 ณ ขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระกฐิน ณ วัดวัวลำพอง จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อจากเดิม เป็นวัดหัวลำโพงแทน เพื่อความเรียกง่าย และสอดคล้องกับสถานีซึ่งมีการสร้างอยู่บริเวณนั้น จนเกิดการเรียกติดปากว่าวัดหัวลำโพงไปในที่สุด

พระพุทธรูปและปูชนียวัตถุที่ควรสักการะ

พระพุทธมงคล

เป็นองค์พระประธานภายในโบสถ์ โดยเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระนามว่า ‘พระพุทธมงคล’ โดยมีความเชื่อที่เล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อกราบขอพรกับพระพุทธรูปปางมารวิชัย จะช่วยปกป้องในเรื่องของภัยจากศัตรู รวมทั้งเป็นการอวยพรให้รอดพ้นจากอันตรายจากการงาน และป้องกันการเงินต่างๆ ได้อีกด้วย

องค์พระประธาน

มูลนิธิร่วมกตัญญู

มูลนิธิร่วมกตัญญู เป็นมูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย โดยก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พุทธศักราช 2513 ดำเนินงานสาธารณะในเรื่องของการช่วยเหลือเก็บศพ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและเป็นศูนย์วิทยุสื่อสาร รวมถึงงานด้านการศึกษา ตลอดจนสาธารณะประโยชน์อีกมากมาย ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดหัวลำโพง ดังนั้นใครที่ต้องการทำบุญทำทานกับทางมูลนิธิก็สามารถเข้าไปทำได้เลย

https://www.wikiwand.com/th/มูลนิธิร่วมกตัญญู

ตำนานสีดารักโลงคู่

โลงคู่ที่ตั้งเอาไว้บริเวณวัดหัวลำโพง เป็นตำนานที่เล่าขานเกี่ยวกับความรักในตำนาน รวมทั้งยังเป็นหนึ่งในโศกนาฏกรรมแห่งความรักของ ‘สีดา’ ชายผู้ที่เกิดมาในตระกูลครอบครัวที่ร่ำรวยซึ่งพบรัก กับแฟนหนุ่มที่มีฐานะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

พระอุโบสถ

เป็นพระอุโบสถแบบทรงไทยจตุรมุข 3 ชั้น พื้นและฝาผนังปูด้วยหินอ่อนและหินแกรนิต ตรงกลางมียอดมณฑป ภายในประกอบไปด้วยภาพเขียนฝาผนังที่งดงาม บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องนรก สวรรค์ เทพ เทวดา เป็นเสมือนกุศโลบายในการสอนธรรมะให้กับผู้คนที่ผ่านไปผ่านมา หรือมีโอกาสเข้ามากราบไว้พระพุทธรูปต่าง ๆ ภายในพระอุโบสถแห่งนี้ด้วย

การเดินทางไปยังวัดหัวลำโพง

ในความเป็นจริงแล้วทุกคนสามารถเลือกเดินทางไปยังวัดหัวลำโพงได้หลายวิธี เช่น รถไฟใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล MRT BLUE LINE หรือรถบัส สาย 172 (ปอ.) (AC) 187 (ปอ.) (AC) 21 4 50 507 (ปอ.) (AC) 542 (ปอ.) (A) เป็นต้น หรือจะเดินทางด้วยรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินแล้วเลือกลงปลายทางสถานีสามย่าน ทางออก 1 เลี้ยวซ้ายเดินตรงไปประมาณ 100 เมตร จะเห็นวัดหัวลำโพงอยู่ซ้ายมือ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวัดที่เดินทางง่าย และมีกิจกรรมรอบวัดให้ทำมากมายเช่น ทำบุญโลงศพ ไหว้พระหยอดตู้ทำบุญ สังฆทาน ฯลฯ

googlehttps://goo.gl/maps/29TTR7QWvL8Dz52X7?coh=178571&entry=tt

ที่อยู่ : 728 ถนนพระราม 4 แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

โทรศัพท์ : 0-2233-9228

ข้อมูลทั่วไป : ที่วัดหัวลำโพงมีศาลาสวดศพเยอะ มีงานสวดในทุกๆคือ หากมีความประสงค์ต้องไปร่วมงานสวดอภิธรรมร้านพวงหรีดวัดหัวลำโพง พร้อมบริการดอกไม้ประเภทต่างๆ จัดส่งฟรี มีภาพให้ตรวจสอบในทุกๆขั้นตอนฟรี


ร้านอาหารบริเวณวัดหัวลำโพง

กิตติภพ ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย หน้าวัดหัวลำโพง

ก๋วยเตี๋ยว​ต้มยำสุโขทัย​รสแซ่บสมคำร่ำลือ​ ไข่ต้ม​ยางมะตูม หมูสับ หมูชิ้น กุ้งแห้ง เกี้ยวกรอบ กากหมู ต้มยำรสชาติของร้านนี้จะออกหวาน เรื่อง​ปริมาณ​อาจจะไม่​ได้​เยอะจนจุก ไม่ใช่น้อยเกินไป​ราคาไม่แพง

พิกัด : https://goo.gl/maps/hY98hwu2RAS9v8fE7?coh=178571&entry=tt

ร้าน กะเพรากุ้งล้น ซอยหน้าวัดหัวลำโพง ไม่มีสาขาที่อื่น

ร้านหาไม่ยากถ้าหันหน้าเข้าวัดหัวลำโพงซอยจะอยู๋ทางซ้ายมือ อยู่ภายในซอยหน้าวัดหัวลำโพง จอดรถได้ที่วัดเดินเข้ามาในซอยไม่ลึกจะเจอร้านอาหาร จุดเด่นเรื่องให้เยอะ คุ้มค่าดี เรื่องรสชาติทั่วๆไปหนักไปทางเข้มข้น จัดจ้านอาจจะเค็มถ้ากินเฉพาะกับข้าว ได้กุ้งและข้าวเยอะพอควร มีราคาถูกในปริมาณอาหารเยอะ เป็นร้านที่ไม่หรูนั่งทานที่ร้านได้ไม่เยอะ เน้นคุ้มเน้นราคาและปริมาณ

ราคา : 40 บาทขึ้นไป

โทรศัพท์ : 086-030-7701 , 059-370-942-6

พิกัด : https://goo.gl/maps/KSPEbDteWwbgLXGeA?coh=178571&entry=tt

กระเพรากุ้งล้น

ภาพจากทางร้าน facebook