ความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนาพุทธในการจัดงานศพของไทยทั้งสี่ภาค

ความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนาพุทธในการจัดงานศพของไทยทั้งสี่ภาค />

17/05/2023

ทั่วไป

ความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนาพุทธในการจัดงานศพของไทยทั้งสี่ภาค

งานศพกับความเชื่อเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวโยงกันมาอย่างช้านาน ดังนั้นจึงไม่อาจจะปฏิเสธได้เลยว่าการจัดงานศพนั้นมีความเชื่อและข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ขั้นตอนในบางขั้นตอนก็อาจจะไม่ได้มีความสำคัญมากกับคนในยุคนี้แล้ว ด้วยค่านิยมและความคิดของคนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา นอกจากนั้นภูมิภาคทั้งสี่ของไทยต่างก็มีวัฒนธรรมและความเชื่อที่แตกต่างกันไป ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้กระบวนการรวมทั้งพิธีการในการจัดงานศพของภาคเหนือ, ภาคกลาง, ภาคอีสาน, และภาคใต้กัน

พิธีงานศพ

การจัดงานศพในภาคเหนือ

การจัดพิธีศพในภาคเหนือนั้นเราจะขออิงจากยุคสมัยของวัฒนธรรมล้านนา โดยในสมัยนั้นเมื่อมีการเสียชีวิตทุกคนก็จะต้องทำการบรรตุร่างของผู้เสียชีวิตเอาไว้ในโลงก่อนจะยกโลงนั้นตั้งเอาไว้บนที่ตั้งซึ่งที่มีลักษณะคล้ายปราสาท(จะทำการยกโลงเพื่อตั้งไว้บนปราสาทก่อนวันเผา) และประดับด้วยดอกไม้สดหรือดอกไม้แห้งนานาชนิดให้สวยงาม เพื่อแสดงถึงความอาลัยและยังเป็นการให้เกียรติกับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วยนั่นเอง

โดยเมื่อมีการบรรจุร่างของผู้เสียชีวิตลงในโลงศพแล้วก็จะมีการจัดงาน ซึ่งมักจะนิยมจัดหาวงดนตรีมาทำการบรรเลงเพลง โดยนิยมจัดงานโดยรวมเป็นเวลา 3 -5 วัน ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละบุคคล การเผาศพจะนิยมทำกันที่เมรุของวัดในพื้นที่ หากแต่พื้นที่ไหนไม่มีเมรุที่สามารถเผาได้ก็จะนิยมทำพิธีนี้กันที่ป่าช้าหรือ ‘ป่าเหี้ยว’ แทน

การจัดงานศพในภาคอีสาน

สำหรับในภาคอีสานความเชื่อในเรื่องของการจัดงานศพนั้นในปัจจุบันและอดีตก็คงจะมีในหลายส่วนที่แตกต่างออกไปบ้างแล้ว แต่ถ้าย้อนกลับไปเมื่อครั้งหนึ่งในอดีต ชาวภาคอีสานก็มักจะมีความเชื่อกันว่าหากผู้เสียชีวิต ‘ตายโหง’ หรือก็คือการตายอย่างไม่ปกติ เช่น ประสบอุบัติเหตุ ถูกฆาตกรรม ฆ่าตัวตาย เป็นต้น มักจะไม่นิยมอาบน้ำศพด้วยน้ำอบหรือน้ำหอม แต่จะนำไปฝังเอาไว้ที่ป่าช้าแทน

พิธีกรรมประจำชีวิตคนอีสาน http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/localinformation/?p=442

นอกจากนั้นยังมีธรรมเนียมหนึ่งที่ปฏิบัติต่อกันสืบมานั่นก็คือการหวีผมให้กับผู้เสียชีวิตโดยหวีไปข้างหน้าครึ่งหนึ่งข้างหลังครึ่งหนึ่ง โดยมีความเชื่อว่าจะเป็นเสมือนสัจธรรมว่าชีวิตล้วนมีเกิด มีตาย แยกจากกันไม่ได้เพราะเป็นของคู่กันมานั่นเอง และอีกหนึ่งธรรมเนียมปฏิบัติที่ชาวภาคอีสานมักจะทำในงานศพนั่นก็คือการสร้างบันไดสามชั้น เพื่อเป็นการสื่อถึงภพภูมิทั้ง 3 ของมนุษย์ โดยจะสร้างเอาไว้บริเวณด้านหน้าของโลงศพนั่นเอง

การจัดงานศพในภาคกลาง

ขั้นตอนการจัดงานศพในภาคกลางก็จะมีธรรมเนียมบางอย่างคล้ายคลึงกับหลาย ๆ ภาคในประเทศไทย โดยเมื่อมีการเสียชีวิตเกิดขึ้นแล้วก็จะต้องมีการเลือกสถานที่ว่าจะจัดงานที่ไหน หากใครสะดวกจัดงานที่บ้านก็จำเป็นจะต้องมีการนิมนต์พระเข้าบ้าน แต่สำหรับใครที่มีพื้นที่ไม่เพียงพอก็มักจะนิยมเคลื่อนย้ายร่างผู้เสียชีวิตไปจัดงานกันที่วัดเลย

ดอกไม้หน้างานศพ

โดยขั้นตอนแรกของงานศพในภาคกลางก็คือ ‘การรดน้ำศพ’ โดยพิธีการนี้จะแบ่งออกเป็นสองช่วงคือ อาบน้ำชำระล้างศพจริง ๆ กับพิธีรดน้ำที่เปิดให้แขกทั่วไปเข้ามารดน้ำอบบริเวณมือของผู้เสียชีวิตได้ โดยในภาคกลางนิยมสวดอภิธรรมศพก่อนการเผา โดยสามารถเลือกจำนวนวันได้ตามความสะดวก หลังจากเผาแล้วก็จะมีพิธีทำบุญเก็บอัฐิหรือลอยอัฐิขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละครอบครัว

การจัดงานศพในภาคใต้

สำหรับการจัดงานศพในภาคใต้นั้น จะมีความเชื่อในเรื่องของการจัดงานศพที่ว่า หากถ้าผู้ที่เสียชีวิตยังเป็นเด็ก หรือเป็นทารกที่เพิ่งคลอดจะไม่นิยมจัดงานหรือเผาศพในทันที แต่จะต้องมีการนำเอาร่างนั้นไปฝังเอาไว้เสียก่อน โดยจะต้องทำการฝังภายในวันนั้นทันที และนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ทําพิธีในบริเวณนั้นแทน

แต่ถ้าหากผู้เสียชีวิตเป็นเด็กที่มีอายุหรือเป็นผู้เสียชีวิตทั่วไปไม่ใช่เด็กทารก ก็จะมีการทำพิธีหนึ่งที่เรียกว่า ‘พิธีดอย’ ซึ่งพิธีนี้เป็รพิธีทางความเชื่อพื้นบ้านของชาวบ้านในบางพื้นที่ โดยมีการเสียชีวิตเกิดขึ้น เจ้าบ้านหรือครอบครัวจะเชิญผู้ที่มีความรู้ในทางเวทย์มนต์ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ ‘หมอผี’ มาทำพิธีต่าง ๆ เช่น การนำน้ำมนต์มาปะพรมเพื่อความเป็นสิริมงคล หรือพรมน้ำมนต์ที่ร่างของผู้เสียชีวิตเพื่อป้องกันไม่ให้ดวงวิญญาณมาก้าวก่าย หรือสร้างความเดือดร้อนให้คนในบริเวณนั้นนั่นเอง

ซึ่งความเชื่อและธรรมเนียมปฏิบัติที่ได้เล่ามานี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดงานศพตามความเชื่อของคนในภาคต่าง ๆ ของไทยเท่านั้น เนื่องจากการจัดงานศพเริ่มมีมาตั้งแต่ที่มนุษย์เราถือกำเนิดขึ้นหลายร้อยหลายพันปีก่อนมาแล้ว ดังนั้นมันย่อมมีการเปลี่ยนแปลง พัฒนา และผนวกรวมเข้ากับแนวความคิดใหม่ ๆ ตลอดจนปรับให้เข้ากับวิถีชีวิตแบบใหม่ที่ดำเนินไปในทุกนาที ดังนั้นในปัจจุบันเราก็อาจจะไม่สามารถเห็นขั้นตอนการจัดงานศพแบบที่เคยมีในอดีตแล้วก็ได้นั่นเอง

อ้างอิงส่วนหนึ่งประเพณีงานศพ https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/11234/1/413603.pdf

นอกจากนี้ในประเทศไทยเราจะพบเห็นเป็นปกติแต่ในต่างประเทศมีพิธีจัดงานศพแบบแปลกๆ ซึ่งต้องบอกว่าไม่น่าเชื่อจริงๆ