งานศพ งานฌาปนกิจศพ 9 ขั้นตอน

งานศพ งานฌาปนกิจศพ 9 ขั้นตอน />

06/02/2023

ทั่วไป

งานศพ งานฌาปนกิจศพ 9 ขั้นตอน

งานศพเป็นงานที่มีเวลาเตรียมตัวน้อยมาก ผู้คนในสังคมต่างมองกันว่าการตายการฌาปนกิจศพเป็นเรื่องไกลตัว เป็นงานต้องห้ามหรืองานอัปมงคลไม่มีใครอย่างข้องเกี่ยว แต่เมื่อถึงเวลาต้องจัดการเกี่ยวกับการฌาปนกิจให้กับบุคคลอันเป็นที่รักของเรา จึงเป็นเรื่องที่ต้องปรึกษาขั้นตอนต่างๆกับผู้ให้บริการงานด้านนี้เป็นหลัก ซึ้งต้องบอกว่างานศพเต็มไปด้วยพิธีกรรมและขั้นตอนต่าง ๆ มีความสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผู้จัดงาน

เมื่อต้องรับมือกับ "สถานการณ์ที่ไม่พร้อม" หากได้มืออาชีพที่มีประสบการณ์เข้ามาช่วยจัดการสิ่งต่างๆเหล่านี้ ทุกสิ่งจะเป็นเรื่องที่ง่ายลงมาก

ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ

หลังจากมีการเสียชีวิต รายละเอียดของลำดับขั้นตอนการปฏิบัติที่ญาติควรทราบเกี่ยวกบพิธ งานศพมีดังต่อไปนี้

  1. แจ้งตาย
  2. การนำศพไปวัด
  3. การอาบน้ำศพ การรดน้ำศพ
  4. การจัดศพลงหีบ
  5. งานบำเพ็ญกุศล งานสวดอภิธรรม
  6. กรณีญาติประสงค์จะบรรจุเก็บศพ เช่น 100 วัน
  7. การฌาปนกิจศพ
  8. การเก็บอัฐิ
  9. การลอยอังคาร

1. เมื่อเสียชีวิต (การแจ้งตาย)

การเสียชีวิต ณ โรงพยาบาล

ให้ขอรับหนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล ซึ่งทางโรงพยาบาลจะออกใบรับรองแพทย์ให้ นำใบรับรองแพทย์พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียชีวิตไปยังสำนักงานทะเบียนหรือเขตท้องถิ่น นำหลักฐานแสดงเหตุการณ์ตายเพื่อขอรับใบมรณบัตร สำหรับโรงพยาบาลแบงแห่งจะมีบริการจัดการให้

การเสียชีวิตที่บ้าน
เจ้าของบ้านจะต้องไปแจ้งการตายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อออกใบรับรองการตาย และนำไปยังสำนักงานทะเบียนหรือเขตท้องถิ่น ภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เสียชีวิตเพื่อขอใบมรณบัตร

*การเสียชีวิตที่บ้าน ถ้าได้ติดต่อบริการรับจักงานศพจะส่งคนฉีดยาฟอร์มาลินเข้าไปในศพให้

สรุปเตรียมนำหลักฐานไปแจ้ง สำนักงานทะเบียนท้องถิ่น

  • บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ผู้ตายมีชื่ออยู่นะ
  • หนังสือรับรองการตาย (ทร.4/1) เป็นบันทึกจากโรงพยาบาล(แพทย์ผู้รักษาผู้ป่วยที่เสียชีวิต)หรือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจกรณีที่บ้าน

โทรศัพท์หมายเลข 1548 เพื่อรับฟังข้อมูลในระบบอัตโนมัติ เกี่ยวกับงานทะเบียน บัตร ติดต่อสอบข้อมูล และสอบถามปัญหากับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานได้โดยตรง (สำนักบริหารทะเบียน www.bora.dopa.go.th/CallCenter1548/index.php/1548-service)

<2. การนำศพไปวัด

หาวัดใกล้ๆสะดวกๆติดต่อไปที่วัด แจ้งวันนำศพไปตั้งสวดบำเพ็ญกุศล สวดกี่วัน จำนวนแขกโดยประมาณ การเคลื่อนย้ายศพไปวัดให้แจ้งความประสงค์กับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล หรือหาร้านดอกไม้งานศพจะมีบริการสิ่งต่างๆเหล่านี้นำรถส่งศพ นิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป มาชักศพเคลื่อนไปสู่วัดที่ตั้งสวดบำเพ็ญกุศล ทั้งนี้ญาติหรือลูกๆอาจจะเปลี่ยนเครื่องแต่งกายศพด้วยเสื้อผ้าตัวโปรด และอย่าลืมรูปภาพตั้งหน้าศพ

แจ้งข่าว

  • แจ้งวันงาน สวดอภิธรรมกี่วัน
  • วันเวลารดน้ำศพ
  • พิธีกร(มัคทายกที่วัด) ของชำร่วยงานศพ อาหารงานศพ ดอกไม้หน้าหีบศพ ดอกไม้ประกอบพิธี ดอกไม้จันทน์ เตรียมคำไว้อาลัยวันเผา เงินทำบุญแต่ละคืน เงินบำรุงศาลาวัด และควรให้เงินผู้ดูแลประจำศาลา

3. การอาบน้ำศพ

ชำระร่างกายศพให้สะอาดแต่งตัวให้ผู้เสียชีวิต เป็นหน้าที่ของลูกๆโดยเฉพาะใม่ควรเป็นบุคคลอื่น หลังจากนั้นจึงนำศพขึ้นนอนบนเตียงสำหรับรอรดน้ำตามเวลา นำศพนอนที่ด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย หงายฝามือขวาให้ผู้ที่มารดน้ำศพมาทางปลายเท้า มีผ้าคลุมศพให้เรียบร้อยเช่น ผ้าแพร เตรียมน้ำอบ น้ำหอม พร้อมขันใหญ่โรยกลีบดอกไม้ผสมน้ำให้เข้ากัน นำขันเล็กตักน้ำเพื่อยื่นให้แขก

พิธีรดน้ำศพบุคคลทั่วไป โดยประมาณเวลา16.00 - 17.00 น. เป็นที่นิยมรดน้ำศพกัน หรือเวลาอื่นๆตามสะดวก ก่อนเริ่มพิธีรดน้ำศพเชิญประธานในพิธี จุดเครื่องบูชาพระรัตนตรัยก่อน ลูกหลานรดน้ำศพก่อนเพื่อให้แขกไม่รอนาน ลูกๆหลานๆเป็นผู้ที่รับหน้าที่ตักน้ำรดน้ำศพให้กับแขก สุดท้ายให้อาวุโสสูงสุดเป็นคนรดน้ำศพเป็นการเสร็จสิ้นกระบวนการ

พิธีรดน้ำหลวงอาบศพ ประธานที่จะรดน้ำศพจะต้องถวายคำนับไปทางทิศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับอยู่ ๑ ครั้ง รับน้ำหลวงอาบศพจากเจ้าหน้าที่พระราชวัง ให้รดน้ำหลวงบริเวณทรวงอกศพ รดน้ำขมิ้นน้ำอบไทย ให้ถวายคำนับความเคารพในทิศเดิม จึงเสร็จพิธีการ

บุคคลทั่วไปที่มารดน้ำศพ น้อมตัวลงยกมือไหว้พร้อมกับอธิษฐานขอขมา

4. การจัดศพลงหีบ

เจ้าหน้าวัดเป็นผู้ทำพิธีกรรมต่างๆเพื่อให้เกิดความเรียบร้อย แล้วจะได้ตั้งบำเพ็ญกุศลศพต่อไป สำหรับศพที่ได้รับพระราชทานโกศหรือหีบหลวง ทางเจ้าหน้าที่จากสำนักพระราชวังเป็นผู้ดำเนินการ การจัดตั้งศพ เมื่อตั้งศพและจัดดอกไม้ธูปเทียนเคารพศพไว้เรียบร้อยแล้ว จะมีตะเกียง โคม โดยจะหรี่ไฟที่ปลายเท้าศพ

  • การอาบน้ำศพและบรรจุศพลงหีบในพิธีราชการ จะนิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป(หรือ 20 รูป) สดับปรกรณ์(บังสุกุล) จบแล้วถวายไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา ขั้นตอนนี้ให้เจ้าภาพ และญาติๆ กรวดน้ำถือเป็นขั้นตอนเสร็จพิธี
  • ส่วนกรณีศพประชาชนคนทั่วไป นินต์พระสงฆ์ 1 รูปในปัจจุบันนิยมเท่านี้ แต่ถ้าต้องการนิมนต์มากกว่านี้ก็ทำได้ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ของเจ้าภาพ เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้ว เจ้าภาพทอดผ้าบังสุกุลบนที่ได้เตรียมไว้หรือที่หีบศพ นิมนต์พระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุล (คือผ้าไตรจีวร สบง ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า) เมื่อพระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุลแล้ว ก็ถือเป็น อันเสร็จพิธีการตั้งศพ

* ผ้าบังสกุลหมายถึง คลุกฝุ่น หรือเปื้อนฝุ่น เป็นการใช้เรียกผ้าที่พระชักจากศพในสมัยก่อน จุดมุ่งหมายการทอดผ้าบังสุกุลเพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ

5. งานบำเพ็ญกุศล งานสวดพระอภิธรรม

การสวดพระอภิธรรมประจำคืน นิยมสวด 1 คืน 3 คืน 5 คืน 7 คืน ให้ตกลงกับทางวัดส่วนที่นิยมมากสุดจะเป็น 3 คืนค่าใช้จ่ายจะประหยัดสุด (แต่มีบางกรณีหลังจากทำบุญ 7 วันแล้ว อาจจะสวดพระอภิธรรม สัปดาห์ละ 1 วัน จนครบ 100 วัน หรือจนถึงวันฌาปณกิจศพ) เวลาเริ่มสวดประมาณ 18.30 น. หรือขึ้นอยู่กับวัดนั้นๆ ถ้ามีงานศพมากพระต้องสวด 2 ศาลา กรณีแบบนี้ศาลาท้ายจะเริ่มสวดชั้าหน่อย สำหรับดอกไม้หน้าหีบศพเพื่อสมเกียรติมองดูสวยงามคลายความโศกเคร้ายิ่งจำนวนวันสวดหลายวัน แขกมาร้วมงามมากหรือผู้ตายเป็นผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงมีผู้นับถือมาก ญาติๆลูกหลานท่านใดมองหาดอกไม้งานศพราคาถูก สวยหรูทางร้านฯมีบริการนะคะ เป็นดอกไม้ประดิษฐ์เหมือนจริง บริการเข้าไปจัดวางที่ศาลางานพิธี หรือสถานที่อื่นๆตามระบุได้ค่ะ

ตัวอย่างดอกไม้งานศพจัดสวน

แนะนำดอกไม้หน้าหีบจัดสวน

ค่าใช้จ่ายดอกไม้ อาหารหรือขนมงานศพสำหรับแขกที่มาร่วมงาน

ตัวอย่างดอกไม้งานศพจัดสวนที่ทางร้านฯมีบริการรับจัดทำ การจัดสวนแบบนี้ทำให้ภายในงานดูสบายใจขึ้น ลดโทนของงานศพลงได้บางส่วนส่วนใหญ่จะพบเห็นได้ตามวัดดังในกรุงเทพฯ ปริมณฑลเล็กน้อย ราคาจัดสวนแบบนี้ร้านพวงหรีดทั่วไปประเมินกันที่ 35,000 - 60,000 บาท

หากต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ควรใช้ดอกไม้งานศพแบบกอกันค่ะ เช่น 5 กอ 7 กอ ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 4,500 - 6,000 บาท

อาหารเช่นกระเพาะปลา ราคาประมาณ 40 - 60 บาท ขนมปังต่างๆ ราคา 20 - 80 บาท

ประหยัดมากขึ้นใช้ดอกไม้ประดิษฐ์ บางวัดมีให้ยื้มแต่ไม่ทุกวัด ดอกไม้ประดิษฐ์มีข้อดีตรงราคาไม่แพง สามารถเอาค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปเป็นอาหารเลี้ยงแขกได้

จำนวนวันสวดวันอภิธรรม ที่นิยมทั่วไป 3-5 วัน

หากผู้ตายเป็นที่เคารพนับถือ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ คนที่เคารพพรักมาก จะมีการจองเป็นเจ้าภาพตามประเพณีนิยมของสังคม

การบำเพ็ญกุศล 50 วัน และ 100 วัน ควรเป็นงานของกลุ่มเจ้าภาพ ญาติๆเท่านั้น ไม่นิยมให้ใครเป็นเจ้าภาพโดยเฉพาะเจาะจง แต่ถ้ามีผู้ที่มีจิตศรัทธาก็สามารถเลือกสวดตามวันที่ผู้ตายถึงแก่กรรมจนครบกำหนดเช่น 100 วัน เช่นวันอังคารให้สวดเฉพาะวันนี้

ขั้นตอนการสวดพระอภิธรรม

  1. นิมนต์พระสงฆ์ 4 รูป ขึ้นนั่งยังอาสนสงฆ์ เตรียมน้ำดื่ม น้ำร้อน น้ำชา ปัจจุบันเจ้าหน้าที่วัดอาจจะเตรียมไว้ให้
  2. เชิญเจ้าภาพหรือประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย จุดธูปเทียนบูชาพระธรรม และจุดเครื่องทองน้อยหน้าศพเรียงตามลำดับกันมา
  3. ศาสนพิธีกรอาราธนาศีล ทุกคนรับศีล (ศาสนพิธีกร คือ ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการพิธีทางศาสนา มีความรอบรู้ในด้านพิธีการต่างๆ)
  4. พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม ครบ 4 จบ (3 จบ แขกพักทานของว่าง และอีก 1 จบเสร็จสิ้นพิธี) หรืออาจจะต่อเนื่อง 4 จบขึ้นอยู่กับวัด
  5. นำเครื่องไทยธรรม เข้าไปตั้งที่เบื้องหน้าพระสงฆ์ ควรปัจจัยถวายพระ 4 รูป ตามแต่จะศรัทธา
  6. เชิญประธาน เจ้าภาพ ญาติผู้ใหญ่ ถวายเครื่องไทยธรรม
  7. เมื่อพระสงฆ์รับเครื่องไทยธรรมแล้ว ให้นำเครื่องไทยธรรมออกมาไว้ด้านท้ายอาสน์สงฆ์ เพื่อจะได้ถวายพระสงฆ์
  8. ศาสนพิธีกรลาดภูษาโยง เป็นหน้าที่ของศาสนพิธีกร (ภูษาโยงคือ แถบผ้าที่ใช้ส าหรับสดับปกรณ์หรือบังสุกุลศพแทนการใช้สายสิญจน์)
  9. เชิญผ้าไตรหรือผ้าสบง ให้เจ้าภาพหรือประธานทอดบนภูษาโยงในลักษณะขวางภูษาโยง
  10. พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล พระสงฆ์อนุโมทนา
  11. เจ้าภาพ หรือประธาน กรวดน้ำ - รับพร
  12. เสร็จพิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมประจำคืน

* ผ้าไตร ดอกไม้ ธูป เทียน ลูกดินห่อด้วยกระดาษสีขาว-ดำ ทางวัดหรือทางฌาปณสถาน จะมีบริการจัดหาให้

อาหารเลี้ยงแขก

ตามประเพณีนิยมมักมีอาหารว่างเลี้ยงแขก ที่มาฟังสวดทุกคืน ปัจจุบันนิยมกันเช่น ขนมกล่องภายในมีน้ำผลไม้ ขนมปัง ร้านดังแบรนด์ต่างๆ

6. การบรรจุเก็บศพไว้ก่อน

การบรรจุเก็บศพ จะกระทำในวันสุดท้ายของการสวดพระอภิธรรม หลังจากสวดพระอภิธรรมตามกำหนดแล้ว หากญาติประสงค์จะเก็บศพไว้ก่อน เพื่อรอญาติหรือรอโอกาสอันเหมาะสม ที่จะทำการฌาปณกิจหรือบรรจุศพฝังไว้ในสุสานต่อไป ต้องกระทำในขั้นตอนครบสวดจบสุดท้ายเสร็จสิ้น

  • ญาติๆตกลงกันเก็บศพวันใด กี่วัน ให้ตกลงกับทางวัดซึ่งญาติเป็นผู้กำหนดระยะวัน
  • ปัจจุบันทางวัดเตรียมจัดหาใว้ให้ หรือถ้าไม่ให้ญาติเตรียม ดอกไม้ ผ้าไตร ดอกไม้ ธูป เทียน ลูกดินห่อด้วยกระดาษสีขาว-ดำ ใส่ถาดไว้แจกแขกผู้มาร่วมงาน
  • นิมนต์พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล 1 รูป ไว้ในวันสุดท้ายของการสวดพระอภิธรรมเพื่อดำเนิน

บรรจุเก็บศพเพื่อ ญาติมีความเห็นหร้อมกันรอความพร้อมที่จะจัดงานฌาปนกิจศพ

ขั้นตอนการปฏิบัติในพิธีบรรจุศพ

เจ้าหน้าที่จัดสถานที่ประกอบพิธีบรรจุศพ ณ บริเวณหน้าที่ตั้งศพ

  1. เชิญประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุล 1 ไตร (บางงานจะไปทอดผ้าบังสุกุล ณ สถานที่เก็บศพ) แล้วนิมนต์พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล
  2. เชิญประธานในพิธีวางห่อดินขาว-ดินดำ และช่อดอกไม้บนพานหน้าศพ ตามลำดับ
  3. เมื่อทุกคนวางห่อดินและช่อดอกไม้เสร็จแล้ว  เจ้าหน้าที่จะดำเนินการเคลื่อนศพไปยังสถานที่เก็บศพสุดท้าย

7. การฌาปณกิจศพ

การฌาปฌกิจศพคือ การเผาศพด้วยความร้อนภายในเมรุ เจ้าภาพจะต้องกำหนดวันที่จะทำให้เป็นที่แน่นอน ส่วนใหญ่ก็วัดถัดไปหลังจากสวดอภิธรรมครบ

  • แต่ถ้าบรรจุเก็บศพไว้ก่อนที่จะทำการฌาปนกิจ จะต้องนำศพมาตั้งสวดพระอภิธรรมอีกครั้งหนึ่งโดยสวดก่อน 1 คืน (หรืออาจจะไม่ตั้งสวดพระอภิธรรมอีก ทำเพียงยกศพขึ้นตั้ง เรียกกันว่า “ตั้งเช้า เผาเย็น” แต่ไม่ควรทำหากท่านเป็นบุพการี เพื่อระลึกถึงผู้ตาย) หลังจากสวดอถิธรรมจบวันถัดไปจึงมาทำพิธีฌาปณกิจ

การบำเพ็ญกุศลหน้าศพ ควรจะบำเพ็ญกุศลอุทิศให้ผู้ตายก่อนดังนี้

  • บวชหน้าไฟ เป็นการให้ลูกหลานบวช สะดวกเรื่องเวลาก็พระภิกษุหรือสามเณร
  • ถวายภัตตาหารเพล นิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป สวดพระพุทธมนต์ อาจจะเลี้ยงพระเพิ่มมากกว่านี้ได้
  • พระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์
  • นิมนต์พระสงฆ์สวดมาติกา บังสุกุล (ทั่วๆไปจำนวนพระสงฆ์ 10 รูป หรือเท่าอายุผู้ตายแบบนี้ไม่ค่อยได้พบเห็น)
  • ถวายเครื่องไทยธรรม กรวดน้ำ เป็นอันเสร็จขั้นตอนพิธี

สิ่งที่ต้องเตรียมหากทางวัดไม่มีจัดการให้

  1. เครื่องไทยธรรม ผ้าสบงถวายพระสวดมนต์ฉันเพล (ดูความหมายเครื่องไทยธรรม)
  2. เครื่องไทยธรรมผ้าไตร และเครื่องติดกัณฑ์เทศน์ถวายพระเทศน์
  3. ผ้าไตรประธานเพื่อทอดบังสุกุล และมหาบังสุกุลก่อนทำการฌาปณกิจ
  4. ผ้าสบงถวายพระสวดมาติกาบังสุกุลตามจำนวนพระสวด
  5. เตรียมดอกไม้จันทน์ให้กับแขกผู้มาร่วมงาน และดอกไม้จันทน์สำหรับประธานในพิธี (ปัจจุบันทางวัดหรือฌาปณสถาน จะมีบริการจัดเตรียมอุปกรณ์เหล่านี้ให้ทั้งหมด แต่หากทางเจ้าภาพอยากจะ จัดก็จัดหามาเองก็ได้)

เคลื่อนศพไปตั้งที่เมรุ

การเคลื่อนศพไปตั้งที่เมรุควรให้ลูกหลาน หรือผู้ที่ใกล้ชิดผู้ตายได้ทำพิธีขอขมาศพ ให้ตั้งจิตหรือกล่าวคำขอขมาต่อศพนั้นว่า "กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง โหตุ" (ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินต่อท่าน [อาจจะออกนาม ผู้ตามก็ได้] ทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี ขอท่านได้โปรดอโหสิกรรมด้วยเถิด) เพื่อเป็นการอภัยโทษที่เคยล่วงเกินต่อกัน

  • การเคลื่อนศพต้องนิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป เป็นผู้นำศพ เริ่มจากบันไดหน้าเมรุ เวียนรอบเมรุ 3 รอบ โดยเวียนจากทางขวาไปซ้ายของเมรุ
  • เจ้าภาพ ญาติๆ ของผู้ตายต้องเดินเข้าขบวนตามศพเวียนรอบเมรุด้วย มีผู้ถือรูปถ่ายนำหน้าศพที่ตั้งไว้ขณะบำเพ็ญกุศลไปในขบวนด้วย และมีคนถือเครื่องทองน้อย(กระถางธูปนำหน้าศพ) ตามหลังพระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้นำขบวน สรุปถือหลักการดังนี้ "พระ กระถางธูป รูปภาพ ศพ ญาติมิตร"
  • เมื่อได้นำศพเวียนรอบเมรุครบ 3 รอบแล้ว เจ้าหน้าที่นำศพขึ้นตั้งบนเมรุ
  • การทอดผ้าบังสุกุลขึ้นอยู่กับจำนวนแขกผู้มีเกียรติชั้นผู้ใหญ่ที่ได้เชิญไว้
  • ลำดับการเชิญแขกขึ้นทอดผ้าบังสุกุล จะเชิญแขกผู้มีอาวุโสน้อยไปหามากตามลำดับ และเชิญประธานขึ้นทอดผ้าบังสุกุลเป็นลำดับสุดท้าย
  • เมื่อประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุลแล้ว ก็เชิญท่านประกอบพิธีประชุมเพลิงต่อไป

วิธีปฎิบัติการเผาศพ

นิยมยืนตรงห่างจากศพประมาณ 1 ก้าว

  • สวมเครื่องแบบข้าราชการ นิยมยืนตรงโค้งคำนับ เครื่องแต่งการทั่วไป นิยมน้อมไหว้พร้อมทั้ง ธูปเทียนดอกไม้จันทน์ที่อยู่ในมือ โดยธรรมเนียมใช้กับศพนั้นมีอาวุโสสูงกว่าตน หรือรุ่นราวคราวเดียวกัน พร้อมตั้งจิตขอขมาต่อศพนั้นว่า "กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง โหตุ" (สิ่งไดที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินต่อท่าน ทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี ขอท่านได้โปรด อโหสิกรรมให้แก่ ข้าพเจ้าด้วยเถิด)
  • เมื่อขอขมาต่อศพเสร็จแล้ว ให้วางธูป เทียน ดอกไม้จันทน์ ที่เชิงตะกอน
  • ยืนตรงโค้งคำนับ หรือยกมือไหว้ศพอีกครั้ง พร้อมกับนึกอธิฐานในใจว่า "ขอจงไปสู่สุคติๆเถิด"

สรุปตัวอย่างลำดับพิธีการฌาปนกิจศพวันเผา

ช่วงเวลา 9.00 - 11.00 น

  • นิมนต์พระสงฆ์ประจำที่อาสน์สงฆ์
  • เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
  • อาราธนาพระปริตร (กรณีจัดพิธีสวดพระพุทธมนต์ตอนเช้า)
  • พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์
  • ถวายภัตตาหารเพลและเครื่องไทยธรรม

ช่วงเวลา 12.00 - 15.00 น

  • เลี้ยงอาหารกลางวันแขกที่มาในงาน
  • นิมนต์พระเทศน์ขึ้นบนอาสน์สงฆ์
  • เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย จุดเทียนกัณฑ์เทศน์และหน้าที่ตั้งศพ
  • อาราธนาศีล อาราธนาธรรม พระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนา จบแล้วถวาย กัณฑ์เทศน์
  • นิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป ขึ้นอาสน์สงฆ์พร้อมกัน เพื่อสวดมาติกาบังสุกุล
  • เคลื่อนศพเวียนเมรุ 3 รอบ และเชิญศพขึ้นสู่เมรุ

ช่วงเวลา 16.00 น

  • พิธีกรอ่านประวัติผู้ตาย(ถ้ามี) และยืนไว้อาลัย
  • เจ้าภาพเชิญแขกผู้ใหญ่ทอดผ้าบังสุกุล
  • ประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุลหน้าหีบศพ เป็นลำดับสุดท้าย
  • เจ้าภาพเชิญแขกขึ้นประชุมเพลิง

8. การเก็บอัฐิ

ในพิธีการเก็บอัฐินิยมทำตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น หลังจากวันฌาปนกิจศพเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะ ต้องเตรียมในพิธีเก็บอัฐ

  1. โกศสำหรับใส่อัฐิ
  2. ลุ้งสำหรับใส่อัฐิและอังคารที่เหลือ เพื่อนำไปลอยอังคาร
  3. ผ้าขาวควรเตรียม 2 ผืน สำหรับห่อลุ้งที่ใส่อังคาร
  4. ผ้าบังสุกุล หรือผ้าไตร สำหรับทอดบังสุกุลก่อนเก็บอัฐิ
  5. น้ำอบไทย 1 ขวด ดอกมะลิ ดอกไม้(กลีบดอกกุหลาบ) เหรียญเงิน (สำหรับโรยบนอัฐิ)
  6. อาหารคาวหวาน จัดใส่ปิ่นโต (สำหรับถวายพระสงฆ์) นิยมจัด 3 ชุด โบราณเรียกว่าพิธี 3 หาบ
  7. นิมนต์พระสงฆ์ 3 รูป (ดอกไม้ธูปเทียน ไทยธรรม)

9. ลอยอังคาร

นิยมนำไปลอยกันที่ทะเล หรือแม่น้ำลำคลองซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าภาพหรือญาติๆ ด้วยความเชื่อที่ว่าเพื่อให้ผู้ตายไปสู่สรวงสวรรค์ การแต่งกายเพื่อไปลอยอังคารควรแต่งตัวให้เรียบร้อย

สถานที่ที่นิยมไปลอยอังคารเช่น

  • ท่าน้ำสโมสรนายเรือสมุทรปราการ โทร 089-766-8400 ค่าใช้จ่ายประมาณ 4,000 - 6,000 บาท
  • ท่าเรือปากเกร็ด หรือวัดแคนอก จ.นนทบุรี
  • กองขนส่งฐานทัพเรือ สัตหีบ จ.ชลบุรี โทร 033-147-689 , 095-723-3739
  • พระสมุทรเจดีย์ โทร 087-074-9721
  • หน้าวัดหลวงพ่อโสธร จ.ฉะเชิงเทรา
  • ท่าน้ำวัดโกรกกราก จ.สมุทรสาคร
  • หน้าวัดช่องลม จ.สมุทรสาคร
  • ผู้ประกอบการ หนึ่งลอยอังคาร เกาะเกร็ด จ.นนทบุรี โทร 097-394-5532
  • เกาะเกร็ด จ.นนทบุรี โทร 097-394-5532, 087-345-5969 ค่าใช้จ่ายประมาณ 1,000 - 3,000 บาท
  • ผู้ประกอบการ บ้านแพรวาบริการเรือลอยอังคาร แม่น้ำเจ้าพระยา หน้าวัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท โทร 089-461-1152

ลอยอังคารกับผู้ประกอบการที่รับทำหน้าตรงนี้สะดวกกว่าที่จะไปหาเรือแล้วนิมนต์พระไปลอยกันเองนะคะ ค่าใช้จ่าย 500 - 8,000 บาท แล้วแต่การจัดเตรียมอุปกรณ?อำนวนความสะดวกต่างๆ