พวงหรีดวัดตลิ่งชัน

จัดส่งฟรีทุกรายการคุณลูกค้าคลิกเข้าดูแบบก่อนค่ะ ราคาเราเริ่มต้นที่ไม่แพงเป็นราราโปรโมชั่นพร้อมส่วนลดช่วยให้คุณลูกค้าประหยัดเงิน ทำให้คุณลูกค้าไม่ต้องไปหาร้านพวงหรีดวัดตลิ่งชันเพราะเสียเวลาเรื่องการเดินทางได้ สั่งซื้อกับเราง่ายใช้เวลาไม่กี่นาทีให้เรื่องพวงหรีดเป็นเรื่องง่ายๆเรามีแบบที่อาจจะตรงใจคุณลูกค้าก็ได้ค่ะหรือถ้าไม่ถูกใจลองบอกแบบกับเราโดยโทรหรือแอดไลน์ สำหรับเรื่องดอกไม้สดทุกชนิดที่เรานำไปจัดของคุณลูกค้า ทุกท่านมั่นใจได้เลยว่าสดใหม่แน่นอนจากปากคลองตลาด2

รายการทุกแบบพร้อมโปรโมชั่นส่วนลด

คุณลูกค้าสามารถคลิกเลือกดูรายการพวงหรีดข้างต้น ราคาไม่แพงดอกไม้สวยไม่ลดคุณภาพ ใส่ใจ พร้อมส่งภาพให้ตรวจสอบ

แนะนำพัดลม

แนะนำประเภทอื่นๆ

วัดตลิ่งชัน

ที่อยู่ : ซอยชักพระ 17 ถนนชักพระ แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170

โทรศัพท์ :

การเดินทาง : ถนนชักพระ วัดตรงข้ามซอยชักพระ 26

ลานจอดรถ : มีลานจอดรถภายในวัด

รถไฟฟ้า : ไม่ติดวัดค่อนข้างไกล จะเป็นรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีตลิ่งชัน

รถประจำทาง : 79 , 79 (ปอ.)

แผนที่วัดตลิ่งชัน

เลือกชมพวงหรีดได้ทุกประเภท จัดส่งฟรีถึงศาลาวัดเร็ว ไม่ช้าพนักงานจัดส่งชำนาญเส้นทางเราคุ้นเคยเป็นอย่างดี ราคาไม่แพงสวยๆเหมือนร้านหน้าวัด เราจัดได้สวยใกล้เคียงหรือเหมือนตามแบบ วางใจได้ค่ะประณีตทุกชั้นงาน พร้อมบริการภาพถ่ายให้ตรวจสอบทุกขั้นตอน จนส่งถึงศาลาภายในวัดตลิ่งชัน

วัดตลิ่งชัน

วัดตลิ่งชันวัดโบราณสมัยอยุธยาตอนปลาย ชื่อนี้ชาวกรุงเทพฯคงคุ้นหูกันดี เนื่องจากเป็นวัดเก่าแก่ และสถานที่ท่องเที่ยวอันโด่งดังในเขตตลิ่งชันอีกทั้งยังเป็นแหล่งศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์อันน่าสนใจตั้งแต่สมัยอยุธยาอีกด้วย

ประวัติวัดตลิ่งชัน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2525โดยจากเนื้อหาในประวัติฉบับกรมการศาสนาได้ระบุว่าวัดตลิ่งชันได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงอยุธยาตอนปลาย หรือราว พ.ศ. 2310 ขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญต่างเชื่อว่าวัดแห่งนี้น่าจะมีอายุที่นานกว่านั้น จากการรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามีมาก่อนปี 2310ส่วนคำถามที่ว่าใครเป็นคนสร้างนั้นปัจจุบันยังไม่ค้นพบหลักฐานใดๆ ที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

นอกจากนี้ยังได้มีการค้นพบ ด้านใต้ของพระอุโบสถหลังใหม่ ที่เห็นถึงรากฐานของอุโบสถหลังเก่าซ้อนอยู่ เนื่องจากพบเห็นชุกชีเดิมอยู่ใต้ฐานชุกชีใหม่ในดินและตามข้อมูลยังบอกอีกว่า อุโบสถแห่งนี้ ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มากถึงสามครั้ง ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2460, 2507 และ 2519 พร้อมทั้งคาดการณ์ว่าวัดแห่งนี้อาจมีการปฏิสังขรณ์อีกครั้ง ในสมัยรัชกาลที่ 3เนื่องจากภายในอุโบสถมีการ ใช้สีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสีที่ได้รับความนิยมในสมัยนั้น มาใช้ทาพื้นหลังพระอุโบสถ อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ การค้นพบบริเวณรอบๆพระอุโบสถ ที่เมื่อมีการขุดค้นลงไป กลับพบพระสมเด็จเก่ามากมายในปีพ.ศ. 2550หรือก่อนหน้านั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548ก็ถูกขุดพบด้วยเช่นกันโดยพบภายในบริเวณตุ่มที่ฝังอยู่รอบอุโบสถ